การเลี้ยงปลาในระบบน้ำหมุนเวียน จากบ่อทดลองสู่ฟาร์มต้นแบบเชิงพานิชย์
ผมหายหน้าหายตาไปนานพอสมควรจากห้องเทคโนโลยี่ที่นี่ ไม่ได้มาอัพเดทข้อมูลนาน รู้สีกละอายใจครับ วันนี้สลัดความขี้เกียจออกไปมาอัพเดทบทความกัน ไม่ได้แอบไปไหนครับ เข้ามาแทบทุกวันมาดูข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวที่พี่น้องเราเข้ามาสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการที่โต๊ะกาแฟที่นี่ ระยะหลังคอนข้างอบอุ่นครับ เข้ามากันมากขึ้น มีการช่วยเหลือเกื้อลกัน ช่วยกันตอบคำถามให้กับผู้สนใจ ถึงแม้นว่าบางห้องจะเงียบเหงาไปบ้าง
วกมาเรื่องที่เกี่ยวกับหัวเรื่องบ้างหลลังจากผอ นพดล เข้ามารับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ที่นี่ ท่านก็ได้ลงมาตรวจดูงานต่างๆที่nica วิจัยและพัฒนากันอยู่ เห็นว่า ระบบและการจักการที่เราวิจัยกันมาไม่ต่ำกว่า 5 ปีที่ผ่านมานั้น น่าจะสามารถพัฒนากันไปสู่เชิงพานิชย์กันได้แล้ว ถึงแม้นต้นทุนจะสูงกว่าการเลี้ยงในกะชัง แต่การเลี้ยงในกะชังปัจจุบันเริ่มมีปัญหากันมาก เลี้ยงปลากัน 8-9 เดือน น้ำเสียมาชั่วโมงเดียวขาดทุนทันที เรียกได้ว่าพลาดไม่ได้แม้นแต่ชม. เดียว
ท่านก็เลยให้นโยบายในการพัฒนาฟาร์มต้นแบบเชิงพานิชย์
การออกแบบรางน้ำต้องตอบโจทย์ลดพลังงาน ไม่เป้นคอขวด ต้นทุนต่ำ
รางน้ำจากอดีตที่เคยเป็นคอขวด ใช้พลังงานมาก คำตอบที่ต้องการในการออกแบบรางน้ำคือประหยัดพลังงาน ใช้วัสดุรีไซเคิ้ลลดต้นทุน ในระบบเก่าของที่นี่ ที่มีบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเดิมกันอยู่แล้วเมื่อนำมาจัดเข้าระบบน้ำหมุนเวียน ก็ต้องวางแผนตอ้งเดินท่อกันอย่างไร จากบ่อเลี้ยงไประบบบำบัด จากระบบบำบัดไปยังบ่อเก็บน้ำ จากบ่อเก็บน้ำไปยังบ่อเลี้ยง จากบ่อหนึ่งไปยังอีกบ่อหนึ่ง ต้องใช้ปั้มทุกระยะ ทำให้การลงทุนสูง ค่าใช้จ่าย ค่าซ่อมบำรุงตามมาอีก
จากประสบการณ์ที่ได้พบมา เราพบว่าการใช้รางน้ำน่าจะแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้ โดยออกแบบให้สามารถรองรับอัตราการไหลสูงสุดที่ 1200 ลิตร/นาที หรือ 1728 ลบม./วัน โดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 50 ซม ผ่าครึ่งมาวางเรียงกัน โดยภายในวางผ้าใบขนาดหนาพิเศษ แบบเดียวกับที่ใช้ทำบ่อ เจาะรูผ้าใบตรงแนวบ่อต่อไปยังท่อพีวีซีขนาด 3 นิ้ว โดยมีวาวล์คอยควบคุมการไหลของน้ำ ดูภาพจากรูปในกระทู้ที่ผ่านมาก่อนครับ ส่วนรูปที่สมบูรณ์ผมจะส่งมาให้ดูกันต่อไปครับ ไปละครับ
บทความโดย : http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=9550.0