น้ำบาดาล
น้ำบาดาลเกิดจากน้ำผิวดิน ที่ซึมผ่านชั้นดินต่างๆจนไปถึงขั้นดินหรือชั้นหินทีไม่ซึมน้ำ และเกิดการสะสมอยู่ระหว่างช่องว่างของเนื้อดิน โดยเฉพาะชั้นดินเป็นกรวด ทรายหิน ปริมาณของน้ำที่ขังอยู่ในชั้นของดินดังกล่าวจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นในฤดูฝนและลดปริมาณลงในฤดูแล้ง น้ำบาดาลจะมีการถ่ายเทระดับได้เช่นเดียวกับน้ำผิวดิน มนุษย์นำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์โดยการเจาะบ่อบาดาล โดยทั่วไปน้ำบาดาลจะมีคุณลักษณะทางกายภาพและคุณลักษณะทางบักเตรีอยู่ในเกณฑ์ดีกล่าว คือ มีความใสสะอาดจากเชื้อปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่จะก่อให้เกิดโรคทางงเดินอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากชั้นของดิน จะเป็นตัวกรองที่สกัดกั้นความขุ่นของเชื้อโรคจุลินทรีย์ ไว้ขณะที่น้ำซึมผ่านชั้นดินลงไป แต่คุณสมบัติทางด้านเคมี เช่น แร่ธาตุและสารละลายต่างๆ จะมีปริมาณที่ไม่แน่นอน เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำลายที่ดี ในขณะที่ซึมผ่านชั้นดินลงไป ก็จะละลายเอาแร่ธาตุและสารในชั้นดินปะปนลงไปด้วย ดังนั้นน้ำจากบ่อน้ำบาดาลจะพบว่ามีความใสสะอาดปราศจากเชื้อโรค แต่มักมีปริมาณของแร่ธาตุและสารละลายต่างๆเจือปนอยู่ในน้ำแตกต่างกันไป และแหล่งน้ำบาดาลแต่ละแหล่งมักจะมีคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีที่คงที่ โดยทั่วๆไป น้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีค่าการนำไฟฟ้า (conductivity) มากกว่า 300ไมโครซีเมนส์/เซนติเมตร
น้ำผิวดิน
หมายถึง ส่วนของน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นดินแล้วไหลลงสู่ที่ต่ำตามแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ หนองและบึง น้ำผิวดินนี้จะรวมทั้งน้ำที่ไหลล้นจากใต้ดินเข้ามาสมทบด้วย ดังจะเห็นได้จากลำธารหรือลำห้วยที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดปีไม่ว่าจะมีฝนตกหรือไม่ ปริมาณน้ำที่ไหลในลำห้วยหรือลำน้ำ ในระหว่างฤดูแล้ง เป็นน้ำที่สะสมไว้ใต้ดินและซึมซับมาตลอดเวลาที่ฝนไม่ตก การไหลนองบนพื้นดิน ทำให้น้ำผิวดินได้รับความสกปรกจากสิ่งแวดล้อมในรูปต่างๆ กัน น้ำผิวดินอาจมีความขุ่นและสารอินทรีย์สูง ปริมาณเกลือแร่ในน้ำอาจมีมากหรือน้อย นอกจากนี้น้ำฝนยังชะล้างสารพิษต่างๆ จากบริเวณเกษตรกรรมให้ไหลมาปนเปื้อนในน้ำผิวดิน สารพิษเหล่านี้ ได้แก่ โลหะหนัก ในเทรดฟอสเฟต ยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ ซึ่งปล่อยน้ำเสียที่ประกอบด้วยสารพิษหลายชนิดก็จะไหลมาปนเปื้อนอยู่ในน้ำผิวดินได้เช่นกัน โดยทั่วไปน้ำผิวดินจะมีปริมาณเหล็กและแมงกานีสเพียงเล็กน้อย และมีค่าการนำไฟฟ้า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงของน้ำประปา เพราะว่าน้ำประปาส่วนใหญ่ก็ทำมาจากน้ำดิบ ซึ่งก็คือ น้ำผิวดินน้ำดิบ ซึ่งก็คือ น้ำผิวดิน นั่นเอง
น้ำประปา
น้ำประปา หมายถึง น้ำทีมีคุณภาพเหมาะสมที่จะใช้ดื่มได้อย่างปลอดภัย โดยมีระบบการจ่ายน้ำไปตามเส้นท่อ เพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้รับน้ำเพียงพอแก่ความต้องการ คุณลักษณะทั่วไป ของน้ำประปาควรจะมีคลอรีน CI2 อยู่ในน้ำด้วยเสมอ แม้ว่าน้ำประปาจะมีคุณภาพดี มีความใสและสะอาดผ่านกระบวนการปรัปปรุงคุณภาพแล้ว หรือเป็นน้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตมาโดยวิธีใดก็ดี จะต้องมีการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน ซึ่งถือเป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของการผลิตน้ำประปา ดังนั้น ในน้ำประปาจะมีก๊าซคลอรีนละลายปนอยู่ด้วยเสมอ จึงจะถือได้ว่าฆ่าเชื้อโรคได้พอเพียง การเติมคลอรีนในน้ำเพื่อคลอรีนหรือสารประกอบของคลอรีนเป็นตัวทำลายเชื้อโรคที่ปะปนมากับน้ำ มีสิ่งที่สำคัญ 2 ประการที่จะต้องคำนึงถึงคือ ความเข้มข้นของคลอรีนและระยะเวลาที่ปล่อยให้เกิดความสมบูรณ์ของปฏิกิริยาถ้าคลอรีนมีความเข้มข้นต่ำจะใช้เวลานาน แต่ถ้าคลอรีนมีความเข้มข้นสูงจะใช้เวลาเพียงเล็กน้อยจากข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการเติมคลอรีนในกิจการประปา ระบุไว้ว่าน้ำประปาควรจะมีปริมาณของคลอรีนอิสระตกค้าง (Free cholorine) ประมาณ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ถ้ามีการระบาดของโรคทางน้ำเกิดขึ้น ควรเพิ่มคลอรีนอิสระตกค้างให้มีประมาณ 1.0 มิลลิกัมต่อลิตร สำหรับน้ำประปาจะมีค่าเท่าการน้ำไฟฟ้าไม่มากกว่า 300 ไมโครซีเมนส์/เซนติเมตร/เซนติเมตร